เมนู

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 3
ทุฏฐุลลวาจาสิกขาบทวรรณนา


ทุฏฐุลลวาจาสิกขา บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
พึงทราบวินิจฉัยในทุฎฐุลลวาจาสิกขาบทนั้นดังนี้

[อธิบาย สิกขาบทวิภังค์ สังฆาทิเสสที่ 3]


บทว่า อาทิสฺส แปลว่า มุ่งถึง.
หลายบทว่า วณฺณมฺปิ ภณติ เป็นต้น จักมีแจ้งข้างหน้า.
บทว่า อจฺฉินฺนกา แปลว่า ขาคความเกรงบาป.
บทว่า ธุตฺติกา แปลว่า ผู้มีมารยา.
บทว่า อหิริกาโย แปลว่า ผู้ไม่มีความอาย.
บทว่า โอหสนฺติ แปลว่า แย้มพรายแล้ว หัวเราะเบา ๆ.
บทว่า อุลฺลปนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวถ้อยคำแทะโลม มีประการ
ต่าง ๆ ยกย่องโดยนัยเป็นต้นว่า โอ! พระคุณเจ้า.
บทว่า อุชฺชคฆนฺติ แปลว่า ย่อมหัวเราะลั่น.
บทว่า อุปฺผณฺเฑนฺติ ความว่า กระทำการเยาะเย้ยโดยนัยเป็นต้น
ว่า นี้ เป็นบัณเฑาะก์ นี้ มิใช่ผู้ชาย.
บทว่า สารตฺโต แปลว่า กำหนัดแล้ว ด้วยความกำหนัด โดย
อำนาจแห่งความพอใจในวาจาชั่วหยาบ.
บทว่า อเปกฺขวา ปฏิพทฺธจิตฺโต มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ใน
สิกขาบทนี้ พึงประกอบราคะด้วยอำนาจแห่งความยินดีในวาจาอย่างเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงมาตุคามที่ทรงประสงค์ในคำ
ว่า มาตุคามํ ทุฏฐุลฺลาหิ ราจาหิ นี้ จึงตรัสดำว่า มาตุคาโม เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ
ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบและสุภาพได้ นี้ท่านพระ-
อุบาลีแสดงว่า หญิงที่เป็นผู้ฉลาด สามารถเพื่อจะทราบถ้อยคำที่เป็น
ประโยชน์และไร้ประโยชน์ ถ้อยคำที่พาดพิงอสัทธรรมและสัทธรรมทรง
ประสงค์เอาในสิกขาบทนี้, ส่วนหญิงที่โง่เขลาเบาปัญญาแม้เป็นผู้ใหญ่
ก็ไม่ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้.
บทว่า โอภาเสยฺย ความว่า พึงพูดเคาะ คือ พูดพาดพิงอสัท-
ธรรม มีประการต่าง ๆ. ก็เพราะชื่อว่า การพูดเคาะของภิกษุผู้พูดอย่างนี้
โดยความหมาย เป็นอัชฌาจาร คือ เป็นความประพฤติล่วงละเมิดเขต
แดนแห่งความสำรวมด้วยอำนาจแห่งราคะ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า บทว่า โอภาเสยฺย
คือ ที่เรียกว่า อัชฌาจาร.
คำว่า ตํ ในคำว่า ยถาตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า เหมือน
ชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวฉะนั้น.
คำเป็นต้นว่า เทฺว มคฺเค อาทิสฺส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้ว เพื่อทรงแสดงอาการที่เป็นเหตุให้เป็นสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้พูดเคาะ
(หญิง).

[อธิบายบทภาชนีย์ สังฆาทิเสสที่ 3]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เทฺว มคฺเค ได้แก่ วัจจมรรคกับ